วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เครื่องแบบ ขอแอร์ โฮสเตส


















ท่าอากาศยานในประเทศไทย

ท่าอากาศยานหลัก
กรุงเทพมหานคร เขตดอนเมือง DMK VTBD ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง (Don Mueang International Airport) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
สมุทรปราการ อ.บางพลี BKK VTBS ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Suvarnabhumi Airport) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
เชียงใหม่ อ.เมืองเชียงใหม่ CNX VTCC ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ (Chiang Mai International Airport) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
เชียงราย อ.เมืองเชียงราย CEI VTCT ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวงเชียงราย (Mae Fah Luang International Airport , Chiang Rai ) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
ภูเก็ต อ.ถลาง HKT VTSP ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต (Phuket International Airport) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
สงขลา อ.คลองหอยโข่ง HDY VTSS ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ (Hat Yai International Airport) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)







ท่าอากาศยานรอง
กระบี่ อ.เมืองกระบี่ KBV VTSG ท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่ (Krabi International Airport) กรมการขนส่งทางอากาศ
ขอนแก่น อ.เมืองขอนแก่น KKC VTUK ท่าอากาศยานขอนแก่น (Khon Kaen Airport) กรมการขนส่งทางอากาศ
ชุมพร อ.ปะทิว CJM VTSE ท่าอากาศยานชุมพร (Chumphon Airport) กรมการขนส่งทางอากาศ
ตาก อ.เมืองตาก TKT VTPT ท่าอากาศยานตาก (Tak Airport) กรมการขนส่งทางอากาศ
ตาก อ.แม่สอด MAQ VTPM ท่าอากาศยานแม่สอด (Mae Sot Airport) กรมการขนส่งทางอากาศ
ตรัง อ.เมืองตรัง TST VTST ท่าอากาศยานตรัง (Trang Airport) กรมการขนส่งทางอากาศ
ตราด อ.เมืองตราด TDX VTBO ท่าอากาศยานตราด (Trat Airport) บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด
นครพนม อ.เมืองนครพนม KOP VTUW ท่าอากาศยานนครพนม (Nakhon Phanom Airport) กรมการขนส่งทางอากาศ
นครราชสีมา อ.เฉลิมพระเกียรติ NAK VTUQ ท่าอากาศยานนครราชสีมา (Nakhon Ratchasima Airport) กรมการขนส่งทางอากาศ
นครราชสีมา อำเภอเมืองนครราชสีมา - VTUN ท่าอากาศยานกองบิน1 นครราชสีมา (Wing1 Air Force Base) กองทัพอากาศ
นครศรีธรรมราช อ.เมืองนครศรีธรรมราช NST VTSF ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช (Nakhon Si Thammarat Airport) กรมการขนส่งทางอากาศ
นครสวรรค์ อ.ตาคลี TKH VTPI ท่าอากาศยานนครสวรรค์ (Takhli Air Force Base) กองทัพอากาศ
นราธิวาส อ.เมืองนราธิวาส NAW VTSC ท่าอากาศยานนราธิวาส (Narathiwat Airport) กรมการขนส่งทางอากาศ
น่าน อ.เมืองน่าน NNT VTCN ท่าอากาศยานน่าน (Nan Airport) กรมการขนส่งทางอากาศ
บุรีรัมย์ อ.สตึก BFV VTUO ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ (Buriram Airport) กรมการขนส่งทางอากาศ
ประจวบคีรีขันธ์ อ.หัวหิน HHQ VTPH ท่าอากาศยานหัวหิน (Hua Hin Airport) กรมการขนส่งทางอากาศ
ปัตตานี อ.หนองจิก PAN VTSK ท่าอากาศยานปัตตานี (Pattani Airport) กรมการขนส่งทางอากาศ
พิษณุโลก อ.เมืองพิษณุโลก PHS VTPP ท่าอากาศยานพิษณุโลก (Phitsanulok Airport) กรมการขนส่งทางอากาศ
เพชรบูรณ์ อ.หล่มสัก PHY VTPL ท่าอากาศยานเพชรบูรณ์ (Phetchabun Airport) กรมการขนส่งทางอากาศ
แพร่ อ.เมืองแพร่ PRH VTCP ท่าอากาศยานแพร่ (Phrae Airport) กรมการขนส่งทางอากาศ
แม่ฮ่องสอน อ.ปาย PYY VTCI ท่าอากาศยานปาย (Pai Airport) กรมการขนส่งทางอากาศ
แม่ฮ่องสอน อ.เมืองแม่ฮ่องสอน HGN VTCH ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน (Mae Hong Son Airport) กรมการขนส่งทางอากาศ
ร้อยเอ็ด อ.ธวัชบุรี ROI VTUV ท่าอากาศยานร้อยเอ็ด (Roi Et Airport) กรมการขนส่งทางอากาศ'
ระยอง อ.บ้านฉาง UTP VTBU ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (U-Tapao International Airport) กองทัพเรือ
ระนอง อ.เมืองระนอง UNN VTSR ท่าอากาศยานระนอง (Ranong Airport) กรมการขนส่งทางอากาศ
เลย อ.เมืองเลย LOE VTUL ท่าอากาศยานเลย (Loei Airport) กรมการขนส่งทางอากาศ
ลำปาง อ.เมืองลำปาง LPT VTCL ท่าอากาศยานลำปาง (Lampang Airport) กรมการขนส่งทางอากาศ
สกลนคร อ.เมืองสกลนคร SNO VTUI ท่าอากาศยานสกลนคร (Sakon Nakhon Airport) กรมการขนส่งทางอากาศ
สงขลา อ.เมืองสงขลา SKL VTSH ท่าอากาศยานสงขลา (Songkhla Airport) กองทัพเรือ
สุรินทร์ อ.เมืองสุรินทร์ PXR VTUJ ท่าอากาศยานสุรินทร์ภักดี (Surin Airport) กรมการขนส่งทางอากาศ
สุราษฎร์ธานี อ.เกาะสมุย USM VTSM ท่าอากาศยานนานาชาติสมุย (Samui International Airport) บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด
สุราษฎร์ธานี อ.พุนพิน URT VTSB ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี (Surat Thani Airport) กรมการขนส่งทางอากาศ
สุโขทัย อ.สวรรคโลก THS VTPO ท่าอากาศยานสุโขทัย (Sukhothai Airport) บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด
อุดรธานี อ.เมืองอุดรธานี UTH VTUD ท่าอากาศยานอุดรธานี (Udon Thani Airport) กรมการขนส่งทางอากาศ
อุบลราชธานี อ.เมืองอุบลราชธานี UBP VTUU ท่าอากาศยานอุบลราชธานี (Ubon Ratchathani Airport) กรมการขนส่งทางอากาศ



ท่าอากาศยานรอง(ขนาดเล็ก)
ขอนแก่น อ.น้ำพอง สนามบินน้ำพอง (Namphong Airstrip) กองทัพอากาศ
จันทบุรี อ.ท่าใหม่ VTBC สนามบินจันทบุรี (Chanthaburi Airstrip) กองทัพอากาศ
ชลบุรี อ.สัตหีบ QHI สนามบินสัตหีบ (Satthahip Airport)
ชลบุรี VTBT สนามบินบางพระ (Bang Phra Airport)
เชียงใหม่ VTCY นกแอร์ฟิลด์ (Nok Airfield)
เชียงราย VTCR สนามบินเชียงราย (Chiang Rai Airport)
ตาก อ.สามเงา VTPY สนามบินเขื่อนภูมิพล (Bhumipol Dam Airport) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ตาก อ.อุ้มผาง สนามบินอุ้มผาง (Umphang Airport)
ตราด อ.เมืองตราด สนามบินเกาะตะเคียน (Koh Takian Airport) กองทัพอากาศ
นครปฐม อ.กำแพงแสน KDT VTBK สนามบินกำแพงแสน (Kamphaeng Saen Airport) กองทัพอากาศ
นครศรีธรรมราช อ.เมืองนครศรีธรรมราช VTSN สนามบินชะเอียน (Cha Eian Airport) กองทัพบก
นครสวรรค์ อ.เมือง VTPN ท่าอากาศยานนครสวรรค์ (Nakhon Sawan Airport) สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร
ปราจีนบุรี อ.เมืองปราจีนบุรี VTBI สนามบินปราจีนบุรี (Prachin Buri Airport) กองทัพบก
ประจวบคีรีขันธ์ VTBP สนามบินประจวบคีรีขันธ์ (Prachuap Khiri Khan Military Airport) กองทัพอากาศ
แม่ฮ่องสอน อ.ขุนยวม สนามบินขุนยวม (Khun Yuam Airport) กองทัพบก
แม่ฮ่องสอน อ.แม่สะเรียง VTCY สนามบินแม่สะเรียง (Mae Sariang Airport) กรมการขนส่งทางอากาศ
ราชบุรี อ.โพธาราม VTPR สนามบินโพธาราม (Photharam Ratchaburi Airport)
ร้อยเอ็ด VTUR สนามบินรอบเมือง (Rob Mueang Airport)
ลพบุรี อ.เมืองลพบุรี KKM VTBL สนามบินโคกกระเทียม (Khok Kathiam Air Force Base) กองทัพอากาศ
ลำพูน VTCM สนามบินบ้านธิ (Ban Thi Airport)
ลำพูน VTCO สนามบินลำพูน (Lamphun Airport)
สตูล อ.เมืองสตูล VTSA สนามบินควนขัน (Khuan Khan Airport) กองทัพอากาศ
สระบุรี อ.เมืองสระบุรี VTBE สนามบินปากเพรียว (Pak Phreaw Airport) กองทัพบก
สระแก้ว อ.วัฒนานคร VTBW สนามบินวัฒนานคร (Watthana Nakhon Airport) กองทัพอากาศ
สุราษฎร์ธานี อ.เกาะพะงัน สนามบินเกาะพงัน (Koh Phangan Airport) บริษัท พะงัน ฮอลิเดย์ จำกัด
อุตรดิตถ์ อ.เมืองอุตรดิตถ์ UTR VTPU สนามบินอุตรดิตถ์ (Uttaradit Airport) กรมการขนส่งทางอากาศ
ตราด อ.เกาะกูด สนามบินเกาะไม้ซี้ กรมขนส่งทางอากาศ

คำในของแอร์โฮสเตส


คำในของแอร์โฮสเตส



“สำหรับคนที่อยากเป็นแอร์โฮสเตส ขอให้ตอบตัวเองว่าเรารักงานบริการจริงๆ หรือเปล่า

เมื่อตอบได้แล้วให้หาข้อมูลให้มากที่สุด หย่าหยุดฝัน


ถ้าเรารู้ว่าวันหนึ่งฝันเราเป็นจริงชีวิตมันก็คุ้มค่า อย่าหยุด อย่าท้อ อย่าคิดว่าเป็นแอร์ฯ ต้องสวยหรือเปล่า ต้องเก่งหรือมั้ย ต้องเรียนเมืองนอกหรือเปล่า อย่าไปคิดอย่างนั้น ไม่ใช่เลย

ถ้าคุณมีคุณสมบัติกำหนด บริษัทก็พร้อมจะเลือก ซึ่งเขาเลือกคนดี เลือกคนที่มีความตั้งใจ”

คุณสมบัติ













คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ

แอร์โฮสเตส และ สจ๊วต เป็นอาชีพที่ให้บริการแก่ผู้โดยสาร ฉะนั้น ผู้ที่ประกอบอาชีพทางด้านนี้ ยังควรมีคุณสมบัติต่างๆ เช่น

1. มีกิริยามารยาท สุภาพอ่อนโยน อบอุ่น และมีท่วงท่าที่นุ่มนวล
2. มีบุคลิกภาพดี ยิ้มแย้มแจ่มใส มีความเป็นมิตรกับผู้อื่น และสามารถปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่นและสังคมได้ง่าย
3. มีความอดทนต่อความยากลำบากของงาน อดทนต่อปฏิกิริยาของผู้โดยสาร และมีความอดทนต่อเพื่อนร่วมงานต่างๆ
4. แต่งตัวดี สะอาด และเรียบร้อย
5. มีไหวพริบปฏิภาณในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
6. มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย และจิตใจ
7. มีใจรักงานทางด้านบริการ มีมนุษยสัมพันธ์ดี และมีความห่วงใยเอาใจใส่อย่างจริงใจที่จะมอบให้แก่ผู้โดยสาร
8. มีความรู้ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศอื่นๆดี
9. สามารถว่ายน้ำได้
10. เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่




คุณสมบัติตามมาตรฐานที่บริษัทกำหนดไว้เราต้องมีเบสิกก็คือ


1. เราต้องมีอายุระหว่าง 20-26 ปี จบการศึกษาอย่างน้อยปริญญาตรี

2. ส่วนสูง 160 เซนติเมตรขึ้นไป น้ำหนักก็ต้องสัมพันธ์กับส่วนสูงด้วย

3. สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และที่เราต้องเตรียมคือหัดว่ายน้ำ เพราะจะมีทดสอบให้ว่ายไปกลับ 50 เมตร

4. ภาษาอังกฤษต้องมีผลสอบโทอิคไม่ต่ำกว่า 600 คะแนน

5. การแต่งตัวในวันที่ไปสมัครควรแต่งให้สุภาพที่สุด ถ้าเป็นของสายการบินไทย ควรใส่เสื้อเชิ้ตแขนสั้น

สีขาว กระโปรงสีดำ รองเท้าสีดำหุ้มข้อสูง 2 นิ้วนะค๊ะ และก็อย่าใส่กระโปรงทรงยาว

6. เรื่องทรงผม ห้ามปล่อยผมเด็ดขาด ควรจะรวบผมหรือบางทีอาจจะไปเกล้าผมที่ร้านก็ได้ แต่ไม่ต้องเอา

เวอร์มากนะคะ พอดูสุภาพ หรืออาจจะแสกกลางแล้วรวบคลุมเน็ตก็ได้จร้า





















คุณสมบัติตามมาตรฐานที่บริษัทกำหนดไว้เราต้องมีเบสิกก็คือ

เราต้องมีอายุระหว่าง 20-26 ปี จบการศึกษาอย่างน้อยปริญญาตรี

ส่วนสูง 160 เซนติเมตรขึ้นไป

น้ำหนักก็ต้องสัมพันธ์กับส่วนสูงด้วย สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และที่เราต้องเตรียมคือหัดว่ายน้ำ

เพราะจะมีทดสอบให้ว่ายไปกลับ 50 เมตร ภาษาอังกฤษต้องมีผลสอบโทอิคไม่ต่ำกว่า 600 คะแนน ถ้ามีความสามารถภาษาอื่นด้วยบริษัทจะพิจารณาเป็นพิเศษ นอกจากนั้นต้องเตรียมเรื่องบุคลิกภาพด้วย

ซึ่งเราต้องอาศัยถามรุ่นพี่ๆ ที่เป็นแอร์ฯได้ว่าต้องทำยังไงบ้าง รุ่นพี่ก็จะช่วยแนะนำว่าต้องแต่งตัวไปยังไง ให้เรียบร้อยดูดีแบบไหน”

เมื่อผ่านมาตรฐานตามที่บริษัทกำหนด ก็กรอกใบสมัครซึ่งเป็นภาษาอังกฤษล้วนๆ

ฉะนั้นจึงต้องเตรียมตัวด้านภาษามาให้ดี ขั้นต่อไปคือการสัมภาษณ์ โดยคณะกรรมการจำนวนหลายคน


“ตื่นเต้นมากวันที่สัมภาษณ์ คณะกรรมการเขาจะสัมภาษณ์ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ จำได้เขาถามว่า ทำไมถึงอยากเป็นแอร์ฯ คนอื่นเขาอาจจะตอบกันว่าอยากท่องเที่ยวแต่สำหรับตัวเองจริงๆ คือเกิดมาก็อยากเป็นแอร์ฯแล้วแอร์ฯเป็นอาชีพในฝัน ตั้งใจไว้ว่าชีวิตนี้จะจะต้องทำให้ได้ ส่วนท่องเที่ยวก็เป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ที่ตามมามากกว่า”

สิทธิพิเศษ และ เงินเดือนของแอร์โฮสเตส

• สิทธิพิเศษของคนเป็นแอร์


มีรายได้รวมสูงกว่าคนทำงานอาชีพอื่นๆ เข้ามาทำงานใหม่ๆ

ก็ได้รายได้ประมาณ 40,000-60,000 บาทต่อเดือน ซึ่งจำนวนรายได้จะขึ้นอยู่กับตารางบินว่าบินระยะใกล้ไกลแค่ไหน ถ้าบินไกล และค้างคืนหลายวันก็ยิ่งได้มาก•

เดินทางไปไหนมาไหนแบบฟรี หรือได้สิทธิ์ในการซื้อตั๋วเครื่องราคาถูกมาก• สมาชิกในครอบครัว เช่น พ่อแม่ ภรรยา หรือสามี และลูก สามารถใช้สิทธิ์เดินทางซื้อตั๋วราคาถูกหรือไปแบบฟรีได้ ถ้าไม่สบาย หรือเกิดอุบัติเหตุระหว่างการบิน สายการบินจะมีสวัสดิการประกันสุขภาพ สามารถเบิกรักษาพยาบาลได้ทุกแห่งทั่วโลกที่สายการบินมีจุดลง










.เงินเดือน
มีหลายๆคนบอกว่า แอร์โฮสเตส ได้เงินเดือนประมาณเท่าไหร่ ดิฉันขออนุญาติอธิบายคร่าวๆในระดับชั้น junior คือเพิ่งเริ่มทำงานค่ะ

สิงค์โปรแอร์ เงินเดือนเริ่มต้น 8,0000 บาท
ค่าบินเที่ยวละ 20,000 เดือนนึง ไม่ต่ำกว่า 20 เที่ยวขึ้นไป
(ระยะเวลาการทำงานของดิฉันประมาณ 12 ปี หลังจากถูกคัดออก ก็จะได้เงินประกัน และ เงินที่เค้าจ้างออก จะได้เงินที่บริษัทต้องจ่ายเมื่อพนักงานมีอายุการทำง านมากทั้งหมดประมาณ 980,000 บาท )




การบินไทย เงินเดือนเริ่มต้น 60,000 บาท
ค่าบินเที่ยวละ 18,000 เดือนนึง ไม่ต่ำกว่า 15 เที่ยวขึ้นไป




เจแปนแอร์ เงินเดือนเริ่มต้น 50,000 บาท
ค่าบินเที่ยวละ 30,000 เดือนนึง ไม่ต่ำกว่า 25 เที่ยวขึ้นไป




อิว่า แอร์ไลน์ เดือนละ 40,000 บาท
ค่าเที่ยวละ 20,000 เดือนึงประมาณ 15 เที่ยวขึ้นไป




เอเซียน่า แอร์ เดือนละ 40,000 บาท
ค่าเที่ยวละ 25,000 เดือนนึงประมาณ 10 เที่ยวขึ้นไป




มาดูแถบตะวันออกกลางกันบ้าง (แขก)

อิมิเลท แอร์ไลน์ เดือนละ 75,000 บาท
เที่ยวละ 40,000 เดือนนึงประมาณ 30 เที่ยวขึ้นไป



อาทิแฮด แอร์ เดือนละ 70,000 บาท
เที่ยวละ 30,000 เดิอนนึงประมาณ 20 เที่ยวขึ้นไป



ควิกต้า แอร์ เดือนละ 65,000 บาท
เที่ยวละ 38,000 เดือนนึงประมาณ 25 เที่ยวขึ้นไป

เส้นทางการทำงาน






ลักษณะทั่วไปของอาชีพ

คำว่า ( AIR ) HOSTESS นั้น ความหมายตามพจนานุกรม คือ เจ้าของบ้านที่เป็นผู้หญิง ส่วน ( AIR ) STEWARD นั้น หมายถึง ผู้พิทักษ์

แอร์โฮสเตส และสจ๊วต จึงหมายถึงผู้พิทักษ์ความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสารบนอากาศยาน โดยมีหน้าที่ต่างๆ

เช่น คอยดูแลช่วยเหลือผู้โดยสารในกรณีฉุกเฉิน รับผิดชอบครวจเช็คอุปกรณ์ประจำเครื่องตามจุดต่างๆ เช่น ถังออกซิเจน เครื่องดับ

เพลิง ไฟฉาย หน้ากากออกซิเจน และเสื้อชูชีพ สำหรับสาธิตให้ผู้โดยสาร ฯลฯ ให้ครบถ้วนถูกต้องตามรายการ และอยู่ในสภาพใช้การ

ได้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในการให้บริการด้านต่างๆ แก่ผู้โดยสาร เช่น การเตรียมอาหาร การเสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่ม การให้การรักษา

พยาบาลแก่ผู้โดยสารที่เกิดเจ็บป่วย การจัดหาที่นั่งให้กับผู้โดยสาร ตรวจดูให้ผู้โดยสารรัดเข็มขัดก่อนเครื่องบินขึ้นหรือลง แจกหนังสือ

พิมพ์ นิตยสารให้ผู้โดยสารอ่าน และดูแลรักษาความสะอาดเรียบร้อยในห้องผู้โดยสารและห้องน้ำ รวมทั้งให้บริการด้านอื่นๆ ที่จะ

อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสาร




การทำงาน

การทำงานของแอร์โฮสเตสและสจ๊วตนั้น เป็นเวลาที่ไม่แน่นอนไม่เลือกกลางวันหรือกลางคืน ขึ้นอยู่กับเที่ยวบินหรือสายการบินที่จะเดินทาง ว่าจะออกกี่โมงและในการเดินทางแต่ละครั้งทั้งสจ๊วต และแอร์โฮสเตสจะต้องกำหนดเวลาในการเดินทางไปสนามบินเผื่อไว้ทุกครั้ง โดยจะต้องเดินทางไปถึงสนามบินก่อนเครื่องบินออกอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อเตรียมตัวและไม่ตกเครื่องบิน แอร์โฮสเตสและสจ๊วตจึงต้องเป็นผู้มีความรับผิดชอบอยู่สูง



--> โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ

ผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีความรับผิดชอบ มีมนุษยสัมพันธ์ และมีความกระตือรือร้นในการทำงานอยู่เสมอ ย่อมมีโอกาสเลื่อนตำแหน่งไปสู่ตำแหน่งงานที่สูงกว่าและดีกว่า ตั้งแต่เริ่มแรก

คือ เมื่อสจ๊วตและแอร์โฮสเตสได้รับการฝึกอบรมครบ 8 สัปดาห์แล้ว ก็จะเริ่มปฏิบัติงานจริง โดยในช่วงเดือนแรกจะเป็นช่วงของการทดลองงาน (บินภายในเอเชีย) จะมีการประเมินผลการปฏิบัติงาน จากซุปเปอร์ไวเซอร์ หรือ หัวหน้างาน ซึ่งจะประเมินผลในทุกๆด้าน เช่น การให้การบริการ การตรงต่อเวลา การร่วมมือประสานงานกัน การแสดงออก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อารมณ์ และทัศนคติ เป็นต้น เมื่อพ้นช่วงทดลองงาน 6 เดือนแล้ว จึงจะได้บินไป ตะวันออกกลางและพอผ่านการทดลองงาน 1 ปี จึงจะได้บินข้ามทวีป แต่ก็ยังคงทำงานในชั้นประหยัด ( Economy Class ) เหมือนเดิม จนกระทั่ง 1 ปี 6 เดือน จึงจะมีสิทธิ์สมัครชั้นธุรกิจ ( Royal Executive Class )ได้ การคัดเลือกครั้งนี้จะพิจารณาจากประวัติการทำงาน พอพ้นจากชั้นธุรกิจจึงจะมีสิทธิ์สมัครทำงาน ในชั้นหนึ่ง ( Royal First Class ) ทุกครั้งที่เลื่อนชั้นการทำงานก็จะได้รับการอบรมเพิ่มเติมทั้งในด้านอาหาร เครื่องดื่ม การบริการ และการดูแลรักษาความปลอดภัยในกรณีฉุกเฉินเสมอ

นอกจากความก้าวหน้าในการเลื่อนตำแหน่งของชั้นบริการแล้ว แอร์โฮสเตสและสจ๊วต ยังมีโอกาสเลื่อนตำแหน่งอื่นๆอีก เช่น เลื่อนเป็นซุปเปอร์ไวเซอร์ เป็นครูฝึก เป็นต้น

--> ความต้องการแรงงาน

การประกอบอาชีพแอร์โฮสเตสและสจ๊วตนั้นเป็นอาชีพที่ต้องการความคล่องแคล่ว ว่องไว ผู้ประกอบอาชีพในตำแหน่งนี้ จึงมักเป็นผู้ที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวเป็นส่วนใหญ่ แต่พอมีอายุมากขึ้นก็ต้องย้ายไปทำงานในส่วนอื่น ที่มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไป

จึงทำให้การปลดเกษียณอายุของการเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสั้นกว่าการทำตำแหน่งอื่น

( ผู้ที่ปลดเกษียณการเป็นพนักงานต้อนรับ มักจะสามารถทำงานในภาคพื้นดินได้ )

ทำให้ความต้องการของอาชีพนี้ไม่มีที่สิ้นสุด ประกอบกับการขยายตัวของสายการบินต่างๆ ตลอดจนความเจริญก้าวหน้าทางธุรกิจ ที่เป็นต้นเหตุให้คนในประเทศต่างๆต้องมีการติดต่อกันเพื่อผลทางธุรกิจ จึงทำให้มีผู้คนที่ต้องเดินทางเป็นจำนวนมาก ทั้งผู้ที่มาติดต่อธุรกิจหรือผู้ที่ต้องการเดินทางมาท่องเที่ยว พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจึงเป็นอาชีพที่ยังเป็นที่ต้องการอยู่ตราบเท่าที่มีการขยายตัวของสายการบินต่างๆทั่วโลก




หลายคนคงอยากรู้ว่าแอร์โฮสเตสทำงานกันอย่างไง ต้องมาก่อนไฟลท์ที่จะบิน 2 ชั่วโมงโดยมาพบกันที่สำนักงานกลาง

ทุกคนต้องศึกษาว่าวันนี้จะบินไปที่นั่นที่นี่ เวลาต่างกันเท่าไหร่ ต้องรู้ว่ากัปตันครั้งนี้ชื่ออะไร พี่หัวหน้าแอร์คือใคร อินไฟลท์เมเนเจอร์เป็นใคร มีบริการแบบไหน มีเรื่องพิเศษอะไรบ้างมีผู้โดยสารที่จะต้องดูแลเป็นพิเศษยังไง

อาหารที่เสิร์ฟ เครื่องดื่มวันนี้เป็นยังไง นอกจากนั้นทุกคนจะต้องดูวีดีโอเกี่ยวกับความปลอดภัยของเครื่องนั้นๆ ที่โดยสาร เพื่อทบทวนและมีการทดสอบกันอีกทีในห้องก่อนที่จะออกไปสนามบินด้วยกัน


“แล้วเราจะต้องมาถึงเครื่องก่อนประมาณ 1 ชั่วโมง พอไปยืนบนเครื่องคราวนี้จะเป็นเรื่องของการเตรียมการทุกคนที่ได้รับหน้าที่ว่าใครจะต้องประจำอยู่ ณ ตรงไหน

ตรวจเช็กอุปกรณ์ความปลอดภัยของตัวเองให้พร้อม เปลี่ยนชุดเตรียมให้บริการ เช็กอุปกรณ์ทุกอย่าง อุปกรณ์ความปลอดภัยครบมั้ย ห้องน้ำเป็นยังไง อาหารเป็นยังไง อาหารพิเศษของผู้โดยสารที่ต้องดูแลพิเศษมาหรือยัง

พอพร้อมแล้วพี่หัวหน้าแอร์ฯจะบอกว่าเตรียมรับผู้โดยสารได้เลย ทุกคนก็จะมายืนประจำเพื่อต้อนรับผู้โดยสาร” ตลอดทั้งเที่ยวบิน พวกเธอก็ต้องคอยดูแลผู้โดยสารซึ่งใช้กำลังเยอะทีเดียว ทั้งเข็นรถอาหาร เสิร์ฟอาหาร เครื่องดื่ม ดูแลความเรียบร้อย เรียกว่าต้องเดินตลอดการเดินทาง ทำงานติดต่อกันหลายชั่วโมง


ฉะนั้นพวกเธอจึงต้องดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงเสมอ “ชั่วโมงบินมันนาน ตัวเราเองก็ต้องพักผ่อนให้เพียงพอก่อน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องความดันอากาศ อากาศที่เปลี่ยนแปลง แล้วเราต้องเดินทางอยู่บ่อยๆ เวลานอนก็ไม่เหมือนคนที่ทำงานประจำ ฉะนั้นเราต้องดูแลตัวเองดีๆ ถ้าไม่ไหวไม่สบาย หรือรู้ตัวว่าตัวเองเป็นหวัด ถ้าเป็นหวัดหูอื้อ ก็จะไม่ไป

แต่ถ้ายังขืนขึ้นไปนี่อาการหูบล็อกมันอันตราย จะไม่ไปเลยนะคะ เพราะว่านอกจากไม่ดีกับตัวเองยังไปทำให้เพื่อนร่วมงานเหนื่อยขึ้นอีก ถามว่าเหนื่อยมั้ย ชินแล้ว พอกลับมาเราก็พักผ่อนเต็มที่ ทางบริษัทเขาก็จัดวันหยุดให้เรา ในการที่จะทำการบินแต่ละครั้งนี่บริษัทคำนวณไว้แล้ว เขาจะมีอัตราค่าความเหนื่อยให้ว่าเราจะต้องพักผ่อนเท่านี้เพื่อความปลอดภัย เพราะฉะนั้นทุกอย่างมันถูกควบคุมด้วยตัวของมันเองอยู่แล้ว เราก็ทำหน้าที่ควบคุมตัวเราเองอีกที

เพราะบางทีเราไปในประเทศที่ร้อนจัดแล้วไปประเทศที่เย็น เราก็ต้องเตรียมตัว”

การฝึกอบรม การเป็นแอร์โฮสเตส



















“สัปดาห์แรกของเราพอเข้ามาปุ๊บต้องเทรนเรื่องเวชศาสตร์การบิน 5 วัน

เรียนเรื่องยา การทำคลอด คือสามารถเป็นผู้ช่วยแพทย์ได้ในกรณีที่มีแพทย์อยู่ด้วย การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การให้ยาท้องเสีย ท้องอืด หอบกับหืดต่างกันยังไง ลักษณะโรคต่างกันยังไง เทรนตรงนี้ 5 วัน

พอเสร็จตรงนี้ก็จะถูกส่งมาฝึกทางด้านความปลอดภัยของแต่ละชนิดเครื่องบิน อุปกรณ์ฉุกเฉินอยู่ตรงไหน ฝึกดับไฟก็ต้องดับไฟจริงๆ ลงน้ำก็ใช้ชูชีพ ใช้ชูชีพยังไง อยู่ยังไง รักษาความอบอุ่นกันยังไง
ในกรณีที่เราต้องดำรงชีวิตอยู่ในทะเล กระปำยา อุปกรณ์ฉุกเฉิน แล้ก็ค่อยฟังคำสั่งว่าเราจะไปด้วยกันยังไง ถึงตอนนี้เราจะต้องทำอย่างนี้ๆ นะ ขั้นตอนการให้บริการผู้โดยสาร
ในส่วนของอาหารต้องเรียนแม้กระทั่งประโยชน์สมุนไพร โภชนาการ วิธีการประกอบอาหาร อาหารอย่างนี้ประกอบยังไง เพราะบางคนบางศาสนาผู้โดยสารอาจทานไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นมุสลิมหรือบางคนทานมังสวิรัติ ก็ต้องรู้ บางคนทานแป้งสาลีไม่ได้เพราะเลือดจะออกในกระเพาะ ก็จะมีอาหารอีกประเภทสำหรับคนประเภทนั้น รายละเอียดเยอะมาก ถ้าเป็นเครื่องดื่มอย่างเช่นในไวน์แต่ละชนิดต่างกันอย่างไร เหมาะกับอาหารประเภทไหน

กิริยามารยาทก็ต้องฝึก เช่น ไม่ใช้การชี้นิ้วมือ แต่ใช้การผายมือแทน เพราะสุภาพกว่า ซึ่งตรงนี้คุณครูจะสอนมารยาทละเอียดมาก” การอบรมใช้เวลาทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ เมื่อผ่านอบรมแล้วก็จะได้ขึ้นเครื่องจริงๆ เพื่อทดลองงาน เที่ยวบินแรกของสุตาคือพม่า เธอบอกตื่นเต้นมาก งานของเธอบนเที่ยวบินแรกคือการขึ้นไปช่วยงานบริการพี่ๆ แอร์โฮสเตสถือเป็นการสังเกตการณ์ เรียนรู้งาน ไฟลท์สังเกตการณ์จะมีทั้งหมด 4 ครั้งเมื่อบินเสร็จแล้วต้องกลับมาเข้าคลาสเรียนอีก ครูผู้อบรมจะให้แรกเปลี่ยนประสบการณ์กันว่าไปบินแล้วรู้สึกอย่างไง โดยคุณครูจะคอยเพิ่มเติมความรู้ให้ตลอด

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เส้นทางการเป็น...แอร์โฮสเตส!



'AirHOstress'นางฟ้าบนเครื่องบิน ;]

เส้นทางการเป็น แอร์โฮสเตส
เริ่มจากการที่มัธยมศึกษาปีที่ 6 เลือกศึกษา สายศิลป์-ภาษา

จากนั้นเรียนต่อปริญญาตรีทุกสาขา

เลือกคอร์ส แอร์โฮสเตส และสมัครเป็นแอร์โฮสเตส



*ถ้าอยากเป็นแอร์จริงๆแนะนำให้เรียน คณะมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์

ศิลปศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ เพราะเราจะได้เปรียบพื้นฐานภาษามากกว่าคนอื่น

คณะอื่น แต่ถ้าอยากทำอาชีพนี้จริงๆ จะจบมาจาก

คณะไหนเค้าก็รับคะ อย่างที่สำคัญที่สุดเราควรหมั่นฝึกภาษาให้ได้มากที่สุดนะคะ





ถ้ามีความสามารถภาษาอื่นด้วยบริษัทจะพิจารณาเป็นพิเศษ นอกจากนั้นต้องเตรียมเรื่องบุคลิกภาพด้วย ซึ่งเราต้องอาศัยถามรุ่นพี่ๆ ที่เป็นแอร์ฯได้ว่าต้องทำยังไงบ้าง รุ่นพี่ก็จะช่วยแนะนำว่าต้องแต่งตัวไปยังไง ให้เรียบร้อยดูดีแบบไหน” เมื่อผ่านมาตรฐานตามที่บริษัทกำหนด ก็กรอกใบสมัครซึ่งเป็นภาษาอังกฤษล้วนๆ ฉะนั้นจึงต้องเตรียมตัวด้านภาษามาให้ดี ขั้นต่อไปคือการสัมภาษณ์ โดยคณะกรรมการจำนวนหลายคนอาจจะทำให้เกิดความตื่นเต้นได้ ที่สำคัญควจะมีสมาธิและต้องเตรียมควมมพร้อมมาให้เยอะๆนะจ๊ะ