วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เส้นทางการทำงาน






ลักษณะทั่วไปของอาชีพ

คำว่า ( AIR ) HOSTESS นั้น ความหมายตามพจนานุกรม คือ เจ้าของบ้านที่เป็นผู้หญิง ส่วน ( AIR ) STEWARD นั้น หมายถึง ผู้พิทักษ์

แอร์โฮสเตส และสจ๊วต จึงหมายถึงผู้พิทักษ์ความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสารบนอากาศยาน โดยมีหน้าที่ต่างๆ

เช่น คอยดูแลช่วยเหลือผู้โดยสารในกรณีฉุกเฉิน รับผิดชอบครวจเช็คอุปกรณ์ประจำเครื่องตามจุดต่างๆ เช่น ถังออกซิเจน เครื่องดับ

เพลิง ไฟฉาย หน้ากากออกซิเจน และเสื้อชูชีพ สำหรับสาธิตให้ผู้โดยสาร ฯลฯ ให้ครบถ้วนถูกต้องตามรายการ และอยู่ในสภาพใช้การ

ได้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในการให้บริการด้านต่างๆ แก่ผู้โดยสาร เช่น การเตรียมอาหาร การเสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่ม การให้การรักษา

พยาบาลแก่ผู้โดยสารที่เกิดเจ็บป่วย การจัดหาที่นั่งให้กับผู้โดยสาร ตรวจดูให้ผู้โดยสารรัดเข็มขัดก่อนเครื่องบินขึ้นหรือลง แจกหนังสือ

พิมพ์ นิตยสารให้ผู้โดยสารอ่าน และดูแลรักษาความสะอาดเรียบร้อยในห้องผู้โดยสารและห้องน้ำ รวมทั้งให้บริการด้านอื่นๆ ที่จะ

อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสาร




การทำงาน

การทำงานของแอร์โฮสเตสและสจ๊วตนั้น เป็นเวลาที่ไม่แน่นอนไม่เลือกกลางวันหรือกลางคืน ขึ้นอยู่กับเที่ยวบินหรือสายการบินที่จะเดินทาง ว่าจะออกกี่โมงและในการเดินทางแต่ละครั้งทั้งสจ๊วต และแอร์โฮสเตสจะต้องกำหนดเวลาในการเดินทางไปสนามบินเผื่อไว้ทุกครั้ง โดยจะต้องเดินทางไปถึงสนามบินก่อนเครื่องบินออกอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อเตรียมตัวและไม่ตกเครื่องบิน แอร์โฮสเตสและสจ๊วตจึงต้องเป็นผู้มีความรับผิดชอบอยู่สูง



--> โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ

ผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีความรับผิดชอบ มีมนุษยสัมพันธ์ และมีความกระตือรือร้นในการทำงานอยู่เสมอ ย่อมมีโอกาสเลื่อนตำแหน่งไปสู่ตำแหน่งงานที่สูงกว่าและดีกว่า ตั้งแต่เริ่มแรก

คือ เมื่อสจ๊วตและแอร์โฮสเตสได้รับการฝึกอบรมครบ 8 สัปดาห์แล้ว ก็จะเริ่มปฏิบัติงานจริง โดยในช่วงเดือนแรกจะเป็นช่วงของการทดลองงาน (บินภายในเอเชีย) จะมีการประเมินผลการปฏิบัติงาน จากซุปเปอร์ไวเซอร์ หรือ หัวหน้างาน ซึ่งจะประเมินผลในทุกๆด้าน เช่น การให้การบริการ การตรงต่อเวลา การร่วมมือประสานงานกัน การแสดงออก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อารมณ์ และทัศนคติ เป็นต้น เมื่อพ้นช่วงทดลองงาน 6 เดือนแล้ว จึงจะได้บินไป ตะวันออกกลางและพอผ่านการทดลองงาน 1 ปี จึงจะได้บินข้ามทวีป แต่ก็ยังคงทำงานในชั้นประหยัด ( Economy Class ) เหมือนเดิม จนกระทั่ง 1 ปี 6 เดือน จึงจะมีสิทธิ์สมัครชั้นธุรกิจ ( Royal Executive Class )ได้ การคัดเลือกครั้งนี้จะพิจารณาจากประวัติการทำงาน พอพ้นจากชั้นธุรกิจจึงจะมีสิทธิ์สมัครทำงาน ในชั้นหนึ่ง ( Royal First Class ) ทุกครั้งที่เลื่อนชั้นการทำงานก็จะได้รับการอบรมเพิ่มเติมทั้งในด้านอาหาร เครื่องดื่ม การบริการ และการดูแลรักษาความปลอดภัยในกรณีฉุกเฉินเสมอ

นอกจากความก้าวหน้าในการเลื่อนตำแหน่งของชั้นบริการแล้ว แอร์โฮสเตสและสจ๊วต ยังมีโอกาสเลื่อนตำแหน่งอื่นๆอีก เช่น เลื่อนเป็นซุปเปอร์ไวเซอร์ เป็นครูฝึก เป็นต้น

--> ความต้องการแรงงาน

การประกอบอาชีพแอร์โฮสเตสและสจ๊วตนั้นเป็นอาชีพที่ต้องการความคล่องแคล่ว ว่องไว ผู้ประกอบอาชีพในตำแหน่งนี้ จึงมักเป็นผู้ที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวเป็นส่วนใหญ่ แต่พอมีอายุมากขึ้นก็ต้องย้ายไปทำงานในส่วนอื่น ที่มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไป

จึงทำให้การปลดเกษียณอายุของการเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสั้นกว่าการทำตำแหน่งอื่น

( ผู้ที่ปลดเกษียณการเป็นพนักงานต้อนรับ มักจะสามารถทำงานในภาคพื้นดินได้ )

ทำให้ความต้องการของอาชีพนี้ไม่มีที่สิ้นสุด ประกอบกับการขยายตัวของสายการบินต่างๆ ตลอดจนความเจริญก้าวหน้าทางธุรกิจ ที่เป็นต้นเหตุให้คนในประเทศต่างๆต้องมีการติดต่อกันเพื่อผลทางธุรกิจ จึงทำให้มีผู้คนที่ต้องเดินทางเป็นจำนวนมาก ทั้งผู้ที่มาติดต่อธุรกิจหรือผู้ที่ต้องการเดินทางมาท่องเที่ยว พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจึงเป็นอาชีพที่ยังเป็นที่ต้องการอยู่ตราบเท่าที่มีการขยายตัวของสายการบินต่างๆทั่วโลก




หลายคนคงอยากรู้ว่าแอร์โฮสเตสทำงานกันอย่างไง ต้องมาก่อนไฟลท์ที่จะบิน 2 ชั่วโมงโดยมาพบกันที่สำนักงานกลาง

ทุกคนต้องศึกษาว่าวันนี้จะบินไปที่นั่นที่นี่ เวลาต่างกันเท่าไหร่ ต้องรู้ว่ากัปตันครั้งนี้ชื่ออะไร พี่หัวหน้าแอร์คือใคร อินไฟลท์เมเนเจอร์เป็นใคร มีบริการแบบไหน มีเรื่องพิเศษอะไรบ้างมีผู้โดยสารที่จะต้องดูแลเป็นพิเศษยังไง

อาหารที่เสิร์ฟ เครื่องดื่มวันนี้เป็นยังไง นอกจากนั้นทุกคนจะต้องดูวีดีโอเกี่ยวกับความปลอดภัยของเครื่องนั้นๆ ที่โดยสาร เพื่อทบทวนและมีการทดสอบกันอีกทีในห้องก่อนที่จะออกไปสนามบินด้วยกัน


“แล้วเราจะต้องมาถึงเครื่องก่อนประมาณ 1 ชั่วโมง พอไปยืนบนเครื่องคราวนี้จะเป็นเรื่องของการเตรียมการทุกคนที่ได้รับหน้าที่ว่าใครจะต้องประจำอยู่ ณ ตรงไหน

ตรวจเช็กอุปกรณ์ความปลอดภัยของตัวเองให้พร้อม เปลี่ยนชุดเตรียมให้บริการ เช็กอุปกรณ์ทุกอย่าง อุปกรณ์ความปลอดภัยครบมั้ย ห้องน้ำเป็นยังไง อาหารเป็นยังไง อาหารพิเศษของผู้โดยสารที่ต้องดูแลพิเศษมาหรือยัง

พอพร้อมแล้วพี่หัวหน้าแอร์ฯจะบอกว่าเตรียมรับผู้โดยสารได้เลย ทุกคนก็จะมายืนประจำเพื่อต้อนรับผู้โดยสาร” ตลอดทั้งเที่ยวบิน พวกเธอก็ต้องคอยดูแลผู้โดยสารซึ่งใช้กำลังเยอะทีเดียว ทั้งเข็นรถอาหาร เสิร์ฟอาหาร เครื่องดื่ม ดูแลความเรียบร้อย เรียกว่าต้องเดินตลอดการเดินทาง ทำงานติดต่อกันหลายชั่วโมง


ฉะนั้นพวกเธอจึงต้องดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงเสมอ “ชั่วโมงบินมันนาน ตัวเราเองก็ต้องพักผ่อนให้เพียงพอก่อน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องความดันอากาศ อากาศที่เปลี่ยนแปลง แล้วเราต้องเดินทางอยู่บ่อยๆ เวลานอนก็ไม่เหมือนคนที่ทำงานประจำ ฉะนั้นเราต้องดูแลตัวเองดีๆ ถ้าไม่ไหวไม่สบาย หรือรู้ตัวว่าตัวเองเป็นหวัด ถ้าเป็นหวัดหูอื้อ ก็จะไม่ไป

แต่ถ้ายังขืนขึ้นไปนี่อาการหูบล็อกมันอันตราย จะไม่ไปเลยนะคะ เพราะว่านอกจากไม่ดีกับตัวเองยังไปทำให้เพื่อนร่วมงานเหนื่อยขึ้นอีก ถามว่าเหนื่อยมั้ย ชินแล้ว พอกลับมาเราก็พักผ่อนเต็มที่ ทางบริษัทเขาก็จัดวันหยุดให้เรา ในการที่จะทำการบินแต่ละครั้งนี่บริษัทคำนวณไว้แล้ว เขาจะมีอัตราค่าความเหนื่อยให้ว่าเราจะต้องพักผ่อนเท่านี้เพื่อความปลอดภัย เพราะฉะนั้นทุกอย่างมันถูกควบคุมด้วยตัวของมันเองอยู่แล้ว เราก็ทำหน้าที่ควบคุมตัวเราเองอีกที

เพราะบางทีเราไปในประเทศที่ร้อนจัดแล้วไปประเทศที่เย็น เราก็ต้องเตรียมตัว”

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น